วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Search Engine

                                                             Search Engine  คือ
   Search Engine คือ โปรแกรมที่สืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ครอบคลุมทั้งรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟแวร์ ข้อมูลบุคคล ข่าว อื่นๆมากมาย
   Search Engine สามารถทำได้โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมา

ตัวอย่างSearch Engine
ส่วนบนของฟอร์ม
การค้นหาขั้นสูง
ในกรณีที่ผลลัพธ์ของการค้นหาแบบขั้นพื้นฐานยังไม่สามารถให้ผลที่ตรงตามความต้องการ การค้นหาขั้นสูงนี้จะช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งเงื่อนไขต่างๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ถ้าคุณต้องการไปยังหน้าที่อยู่ด้านล่าง ท่านสามารถเข้าได้โดนคลิกที่ลิงค์ ค้นหาขั้นสูง  

คำอธิบายตามการใช้งานของการค้นหาขั้นสูง  
การค้นหาขั้นสูงสนับสนุนการสืบค้นข้อมูลด้วยเงื่อนไขต่างๆหลากหลายรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง และตรงความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยรูปแบบของเงื่อนไขต่างๆที่ระบบสนับสนุนมีดังต่อไปนี้  

A  ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้ทั้งหมด ตัวอย่าง เช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ AND กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำทั้งสองเท่านั้น

B Phrase Matching คือ ค้นหาวลีหรือข้อความที่ตรงตามรูปแบบนี้เท่านั้น โดยการใช้สัญลักษณ์ (" ") ครอบวลีหรือข้อความที่เราต้องการสืบค้น เช่น "ประมวลรัษฎากร"
 C  ข้อมูลที่มีคำเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งคำ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า ภาษี OR เงินได้ จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำใดคำหนึ่งก็ได้

D ข้อมูลที่ไม่มีคำเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า หนังสือ NOT กระทรวง จะได้ผลการค้นหาของข้อมูลเอกสารที่มีคำว่า หนังสือ แต่ไม่มีคำว่า กระทรวง
หมายเหตุ: ผู้ใช้สามารถใส่คำค้นในช่อง A, B, C และ D พร้อมกันได้ โดยคำค้นในทุกช่องจะถูกนำมา And กันทั้งหมด  

E เลือกรูปแบบว่าจะค้นหาทั่วโลก โดยการเลือกเช็คบ๊อกซ์แล้วจึงกดค้นหา
Google  

F กำหนดลักษณะการค้นหาได้แบบไวยากรณ์ ตัวอย่างเช่น "track" ใช้ไวยากรณ์ โดยใช้สัญลักษณ์(~) เช่น ค้นหาคำว่า “ track~ “ จะได้ผลการค้นหาของ track tracks tracking เป็นต้น
ใช้ไวยากรณ์ (เฉพาะภาษาอังกฤษ)


G  สามารถกำหนดกลุ่มคำที่สะกดไม่เหมือนกัน เพื่อสืบค้นได้ (หรือใช้ สัญลักษณ์ % ซึ่งได้อธิบายวิธีการใช้ไว้ในหน้า Basic Search) ซึ่งเลขระดับของการสะกดผิดจะแสดงถึง จำนวนตัวอักษรที่น่าจะสะกดผิด เช่น ค้นหาคำว่า สันพากร เมื่อค้นหาจะได้ผลลัพธ์ของเอกสารที่มี คำว่า สรรพากร เป็นต้น
               สะกดคำผิดได้    ระดับ
H  กำหนดหมวดในการค้นหา ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่มีอยู่ในส่วนกลาง (ทุกหมวด), ค้นหาข้อมูลที่ถูกจัดไว้ในหมวดประมวลรัษฎากร
 

I  กำหนดขอบเขตการค้นหาแบ่งตามหน่วยงานของกรมสรรพากร ตัวอย่าง ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในภาค 1 จากทุกสำนักงานพื้นที่
      

J  กำหนดรูปแบบผลลัพธ์ของภาษา เช่น กำหนดให้แสดงผลลัพธ์เฉพาะเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย หรือ ทุกภาษา
   
ทุกภาษา
ไทย
English





K  กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์
  เรียงตาม: แสดง  รายการ/หน้า

L  กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์
 

M  กำหนดการแสดงผลเรียงตามความต้องการ ตัวอย่าง เรียงข้อมูลตามจำนวนคำที่มากที่สุดในเอกสาร, เรียงข้อมูลตามวันและเวลา, เรียงข้อมูลตามชื่อเอกสาร และ เรียงข้อมูลตามขนาดของไฟล์
   
   

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บล็อกคือ


บล็อกคือ
บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงค์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
ข้อดีของการทำบล็อก

            1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนออะไรก็ได้ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่นที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎต่างๆก็อยู่ที่เราจะกำหนดเองค่ะ
            2. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณี ฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ
            3. ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยบทเรียนง่ายๆ การสังเกต การทดลอง สามัญสำนึกช่วยก็ทำเองได้ หรืออาจขอความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็สามารถเข้าไปแก้ไข Source Code เองได้
            4. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
            5. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก หากบุคคล นักธุรกิจ คนดัง นักร้อง ค่ายเพลง นักแสดง หมอดู นักการเมือง องค์กร ห้างร้านสนใจมาทำบล็อกก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องการตลาดอย่างมาก หากใช้อย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และบริหารบล็อกอย่างมืออาชีพ หรือด้วยมืออาชีพ
            6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา ก็ตาม
            7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
            8. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
            9. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และเพื่อนของเพื่อนของ
            10. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
            11. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน บางท่านอาจจะกลายเป็นคนดังได้
            12. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็น ผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
            13. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อนได้ แม้จะอยู่ชื่อแฝง หรือจะอยู่ในชื่อจริงก็ตาม
            14. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน ใช้เป็นจดหมายเหตุได้
            15. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพื่อนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้
            16. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง ถึงคนอันเป็นที่รัก ที่ชัง ครอบครัว เพื่อน คนอื่นรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง พืช งานอดิเรก ของรัก ของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว
            17. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
            18. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ
            19. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีดี มาใช้ร่วมกันก็เป็นได้
            20. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นกรณีของการนำเสนอข่าวอย่างฉับไว เจาะลึก มีพร้อมทั้งภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆหลายรูปแบบ ซึ่งในเครือ The Nation ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
            21.  ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
            22. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง วรรณกรรม การ์ตูน งานศิลปะอื่นๆ ตามแต่ความสนใจของกลุ่มย่อยนั้น ในบางกรณี ยังสามารถกำหนด password ในการเข้าบล็อกของกลุ่มเพื่อรักษาความลับไม่ให้รั่วไหล
            23. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง
เว็บบล็อกที่สนใจ
อ้างอิง

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
นวัตกรรมที่นำมาใช้ E-book
ใช้สอนเรื่อง  สถิติ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3
 ใช้ในการทำเนื้อหา ในเรื่องสถิติได้ถูกต้อง
บุคคลอื่นสามารถเข้าอ่านเนื้อหาในE-book ได้ง่ายขึ้น

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

                  สื่อหลายมิติ ( 2000 : 165 ) ความหมาย   สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
                      จากแนวคิดดังกล่าว เท็ด เนลสัน และดั๊ก เอนเจลบาร์ต ได้นำแนวคิดนี้มาขยายเป็นรูปเป็น ร่างขึ้น โดยการเขียนบทความหรือเนื้อหาต่าง ๆ กระโดยข้ามไปมาได้ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับเป็น เส้นตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยการใช้ คอมพิวเตอร์ช่วย แนวคิดเริ่มแรกของสื่อหลายมิติคือความต้องการเครื่องมือช่วยในการคิดหรือการ จำที่ไม่ต้องเรียงลำดับ และสามารถคิดได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
                       ข้อความหลายมิติ  Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือเทคโนโนยีของการอ่านและการเขียนที่ไม่เรียงลำดับ เนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟิคอย่างง่าย ที่มีการ เชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อ หนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
                        ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่ จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจ เปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
                        สื่อหลายมิติ (Hypermedia)  มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติไว้ดังนี้
                       
 น้ำทิพย์    วิภาวิน    (2542:53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
                        วิเศษศักดิ์     โคตรอาชา   (2542:53)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
             
              กิดานันท์    มลิทอง  (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม
                        สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
                        การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ผู้เรียน
                      สรุป
                        
สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน คือ สื่อหลายมิติที่ได้มีการพัฒนามาจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเรียนการสอน   เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหา มีการใช้คุณลักษณะของสื่อหลายมิติในการเชื่อมโยงหัวข้อต่าง  เป็นต้น 

สื่อการสอนคืออะไร

        (http://images.s4920117113s.multiply.multiplycontent.com)  โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์กล่าวไว้ว่า     สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
            ประเภทของสื่อการสอน
แบ่งประเภทการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น

                ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) กล่าวไว้ว่าสื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึ วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่าในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ
     ประเภทของสื่อการสอน
        การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ
              ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
                  1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น 
                       - แผนภูมิ (Charts)
                       - แผนภาพ (Diagrams)
                       - ภาพถ่าย (Poster)
                       - โปสเตอร์ (Drawing)
                       - ภาพเขียน (Drawing)
                       - ภาพโปร่งใส (Transparencies)
                       - ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
                       - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
                       - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
                 2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่ 
                       - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
                       - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
                       - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
                       - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
                       - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
                       - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
                 3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
                       - บทบาทสมมุติ (Role Playing)
                       - สถานการณ์จำลอง (Simulation)
                       - การสาธิต (Demonstration)
                       - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
                       - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                       - กระบะทราย (Sand Trays)

       (http://edtech.edu.ku.ac.th)กล่าวไว้ว่าสื่อการสอนสื่อการสอนสื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ 
     ประเภทของสื่อการสอน
แบ่งประเภทการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2. วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น

สรุปสื่อการสอนสื่อการสอนสื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ 

เอกสารอ้างอิง
http://edtech.edu.ku.ac.thเข้าถึงเมื่อ29/06/54
http://narissaraenglish.blogspot.com/2007/08/1.htmlเข้าถึงเมื่อ29/06/54
http://reg.ksu.ac.th/teacher/sudatip/Elearning_files/data2.htmlเข้าถึงเมื่อ29/06/54

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศ
http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm)กล่าวว่า  หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล 
การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่
เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)  กล่าวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ' หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
(http://www.thaigoodview.com/node/55440) กล่าวว่า            เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
                        บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
      เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
      1.
 เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ 
      2.
 เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้ 
      3.
 เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์  มีลักษณะสำคัญคือ
1. ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
2.ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
3.ทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย
4.เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
5.ทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
6.ก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น

เอกสารอ้างอิง

http://www.thaigoodview.com/node/55440เข้าถึงเมื่อ26/06/54
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html เข้าถึงเมื่อ26/06/54
http://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm   เข้าถึงเมื่อ26/06/54